การทำบุญให้คนตาย ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว

การทำบุญให้คนตาย หลังจากที่ญาติมิตรล่วงลับไปแล้ว มีสิ่งที่คนเป็นอยู่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ตาย คือการปฏิบัติตามธรรมเนียมของท่านผู้รู้ที่สมบูรณ์

บทความ Articles > ตายแล้วไปไหน Life After Death > อบายภูมิ
[ 1 พ.ย. 2554 ] - [ : 18292 ]
   Bookmark and Share  
Share Facebook   

ตายแล้วไปไหน

ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร

การทำบุญให้คนตาย ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว
 
การทำบุญให้คนตาย
 
การทำบุญให้คนตายตามหลักผู้รู้ที่สมบูรณ์
 
      หลังจากที่ญาติมิตรล่วงลับไปแล้ว มีสิ่งที่คนเป็นอยู่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ตาย คือการปฏิบัติตามธรรมเนียมของท่านผู้รู้ที่สมบูรณ์ (สัพพัญญูพุทธเจ้า) คือ
 
๑.)   ไม่พึงสวดอ้อนวอนให้ไปดี หรือสาปแช่งให้ผู้ตายไปไม่ดี [1]     
           
      ในบางลัทธิศาสนา มีการสวดอ้อนวอนให้ผู้ตายเพื่อหวังให้ผู้ตายไปแล้ว ได้ไปอยู่ร่วมกับเทพเจ้าของตน หรือไม่ก็สวดสาปแช่งศัตรูให้ไปสู่อบาย ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นนอกจากจะไม่มีประโยชน์ ยังทำให้จิตใจผู้ทำเศร้าหมองด้วยโมหะอีกด้วย เพราะผู้ทำกรรมใดไว้ในโลกนี้ ก็ย่อมต้องเสวยผลแห่งกรรมที่ตนทำเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า การทำเพียงสวดอ้อนวอนจึงไม่มีประโยชน์อะไร (ดูในภูมกสูตร)
  
๒.)  พึงทำบุญอุทิศให้
 
     การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนที่ยังเป็นอยู่ทีเดียว[2] เป็นสิ่งที่คนทุกชาติทุกศาสนาควรศึกษาไว้ให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในภูมิอื่น (เว้นมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน) ย่อมไม่มีการทำมาหากินเลย ผู้ล่วงลับไปจะมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองกระทำตอนเป็นมนุษย์ และเพราะอาศัยการทำบุญอุทิศให้ของผู้ที่ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์นี้เท่านั้น[3]  และการทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับก็ต้องทำกับผู้รับที่มีศีลมีธรรมเท่านั้น เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัย บุญนั้นจึงจะถึงแก่ผู้ตายไปอย่างแน่นอน ตามภูมิตามกำเนิดที่สามารถรับผลบุญที่อุทิศให้[4] แต่ถ้าทำกับผู้รับที่ไม่มีศีลธรรม บุญก็จะไม่ถึงแก่ผู้ตาย[5]     
    
          ส่วนกิจอื่น เช่น การร้องไห้คร่ำครวญ การแสดงอาการเศร้าโศก การสวดอ้อนวอนฝากกับเทพเจ้า การเล่นมหรสพ เป็นต้น ซึ่งบางท้องถิ่นยังนิยมทำกันจนเป็นประเพณี เป็นต้นว่ามีการจ้างนักร้องมาร้องเพลงเศร้า เช่น มอญครวญ มอญร้องไห้
 
อาชีพร้องไห้หน้าศพ
 
การร้องไห้หน้าศพ ถือเป็นการไม่สมควรเลย
 
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่สมควรทำเลย เพราะไม่มีประโยชน์อะไรทั้งแก่ผู้เป็นอยู่และผู้ตาย  มีแต่จะสิ้นเปลืองไป และเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี  นอกจากไม่ได้บุญกุศลอะไรแล้ว ซ้ำร้ายยังทำจิตใจให้เศร้าหมองด้วยบาปอกุศลทั้งฝ่ายคนเป็นอยู่และผู้ที่ตายไปอีกด้วย[6]  เพราะทำไปด้วยความเห็นผิดเข้าใจผิด                
                                                                    
     ๒.๑. วิธีอุทิศบุญให้ถึงแก่ผู้ตาย
 
     นอกจากนี้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถายังแสดงว่า ทักษิณา คือผลบุญที่ญาติสาโลหิตอุทิศให้ย่อมสำเร็จผลให้เป็นสมบัติมีอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นแก่ผู้ล่วงลับในขณะนั้นได้ ก็ด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการ[7] คือ
 
๑. ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล เช่น พระภิกษุ สามเณรผู้มีศีลบริสุทธิ์   
๒. ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย  
๓. ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย                                               
 
     ในองค์ประกอบทั้ง ๓ นั้น องค์ที่ ๑ และ ๒ ขาดไม่ได้ ส่วนองค์ที่ ๓ ขาดได้ เพราะแม้เปรตจะไม่อนุโมทนาบุญด้วยตนเอง บุญที่ญาติอุทิศให้ก็ยังคงไปถึงได้บ้าง[8] 
 
     หากมีผู้สงสัยว่า เปรตจำพวกไหนบ้างที่ได้สามารถได้รับผลบุญที่หมู่ญาติอุทิศให้ พระอรรถกถาจารย์ตอบว่า
 
      “ฐานะใด ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมสำเร็จผลแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแล เป็นฐานะดังนี้ ทักษิณาที่สำเร็จผลในฐานะนั้น อันแตกต่างกันโดยประเภทแห่งเปรตมี ขุปปิปาสิกเปรต วันตาสาเปรต ปรทัตตูปชีวีเปรต และนิชฌามตัณหิกเปรต เป็นต้น ก็ตรัสว่า ย่อมสำเร็จผลโดยฐานะ”[9]  สรุปคือ เปรตทุกจำพวกสามารถได้รับผลบุญที่ญาติมิตรอุทิศให้ได้

ข้อที่ควรคำนึงของผู้จะตาย !

     จากข้อความข้างต้นนี้ มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่ว่า  ถ้าผู้ตายสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย หรือศึกษาแต่ผิวเผินเพราะความไม่ใส่ใจ ไม่ทุ่มเทในการประกอบบุญกุศลในโลกนี้  เมื่อละโลกไปแล้ว  แม้มีผู้อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ตนอนุโมทนาบุญไม่เป็นก็ย่อมไม่ได้รับส่วนบุญเท่าที่ควร นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนคือผู้ตายข้อที่ ๑ 
 
ญาติทำบุญให้ก็อดเหมือนเดิม
 
ญาติไม่ทำบุญให้ก็อดเหมือนเดิม
 
     หรือลูกหลานทะเลาะกันเรื่องแบ่งสมบัติ  ซึ่งเราได้เห็นได้ยินกันอยู่ทั่วไป พ่อแม่จวนตาย ลูกหลานแย่งสมบัติกัน บางทีฆ่ากันตายก่อนพ่อแม่ก็มี ตนเองก็ต้องมาทุกข์ใจก่อนตาย  เพราะสมบัติของตนเป็นเหตุ เมื่อตายไป  จึงไม่มีใครอุทิศส่วนกุศลให้เลย เพราะตนเองมิได้คบหากับบัณฑิตทางธรรมและไมเคยทำแบบอย่างเช่นนี้ไว้ให้ลูกหลานดูเลย นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนข้อที่ ๒                                  
                                                                                                                      
     และข้อสุดท้าย แม้บุตรธิดาทำบุญอุทิศให้  แต่ทำไม่ถูกเนื้อนาบุญ[10] เช่น ทำบุญกับผู้ทุศีล มีความเห็นผิด ไม่เชื่อกรรม ผลของกรรม นรกสวรรค์เป็นต้น  ทั้งนี้ก็เพราะสมัยที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย  ไม่เข้าหาพระภิกษุสามเณรผู้รู้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งสามารถชี้แจงโลกนี้โลกหน้าได้กระจ่างชัด   แต่กลับไปคบหานักบวชอื่นหรือพระภิกษุและพุทธศาสนิกชนที่ไม่เชื่อเรื่องโลกนี้โลกหน้า  จึงไม่ฉลาดในวิธีอุทิศส่วนกุศล  บุตรธิดาจึงได้แบบอย่างที่ไม่ถูกต้องตามตนเอง เมื่อถึงคราวต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย  จึงทำไม่ถูกวิธีเช่นกัน  นี้ก็เป็นผู้ผิดพลาดข้อที่ ๓ ของผู้ตาย
        
 
     ๒.๒. วันและสถานที่ที่ควรทำบุญให้เป็นพิเศษ
  
     วันหรือโอกาสที่ควรทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นพิเศษที่คนสมัยโบราณผู้มีปัญญานิยมทำกัน ตามภูมิรู้ภูมิธรรมที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาจากอดีต ด้วยความพากเพียรทางจิต อันประกอบไปด้วยเหตุผลที่ตนเห็นมาเอง มิใช่เป็นเพียงแค่ความเชื่อ แต่ปัจจุบันเหตุผลดังกล่าวได้หายสาบสูญไป   จึงเหลือเพียงความเชื่อตามปัญญาของคนสมัยโบราณ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นประเพณีนิยมที่ดีงาม ที่น่าทำสืบ ๆ กันไป เพื่อเป็นแบบแผน          
 
การอุทิศส่วนบุญส่วนกุสล
 
การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้คนตาย
 
     ให้กับอนุชนรุ่นหลัง วันสำคัญดังกล่าวได้แก่ วันพระ วันครบรอบวันตาย ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน การทำบุญในสถานที่เกิดอุบัติเหตุ  ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้  
 
          ๒.๒.๑. วันพระ  เฉพาะวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก ๑ วันโลกมนุษย์  สัตว์นรกมีทุกขเวทนาเบาบางลง จึงมีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนทำและอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ได้เต็มที่  ส่วนญาติที่เกิดเป็นเทวดาก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกนี้[11] 
 
           ดังนั้นญาติหรือมิตรสหายที่อยู่ในโลกนี้ จึงควรสละเวลามาทำบุญในวันพระให้กับผู้มีอุปการคุณของตนเอง เพื่อเป็นแบบแผนที่ดีงามให้กับอนุชนรุ่นหลังโดยเฉพาะบุตรธิดาของตน เพราะเมื่อถึงคราวตนเองละโลกนี้ไปแล้วบุตรธิดาก็จะได้ทำบุญอุทิศให้บ้าง หากเราไม่ทำเป็นแบบอย่างไว้ เมื่อเราล่วงลับไปแล้วก็จะไม่มีบุญให้ได้รับความสุขให้ภพหน้าและไม่มีใครอุทิศส่วนบุญให้ด้วย
 
          ๒.๒.๒. วันครบรอบวันตาย ๗ วัน  ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที  ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ ๗ วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ และเจ้าหน้าที่ยมโลก (กุมภัณฑ์) กำลังผลัดเปลี่ยนเวรกัน ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่ซึ่งจะพาตัวไปยมโลกนรก หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือ หากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในที่   ดี ๆ โดยไม่ต้องไปยมโลกนรก อุสสทนรก หรือ มหานรก อนึ่ง ผู้ตายที่ทำบาปกรรมไว้ เมื่อครบ ๗ วันผู้ตายต้องกลับมา ณ สถานที่ตาย หากเห็นญาติมิตรทำบุญให้ก็จะอนุโมทนาบุญ และจะไปสู่สุคติได้
 
การนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรม
                                                         
การนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมในงานศพ
 
            ๒.๒.๓. วันครบรอบวันตาย ๕๐ วัน ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา ๕๐ วันหลังตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษาตั้งแต่ถูกลากตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบพระยายมราช
                               
     *พระยายมราช คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญก็ตั้งความปรารถนาไว้
         
 
          ๒.๒.๔. วันครบรอบวันตาย ๑๐๐ วัน [12] ช่วงเวลาระหว่าง ๕๑ ถึง ๑๐๐ วัน คือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติตอนสมัยเป็นมนุษย์  และจะส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร เช่น ไปเกิดในยมโลก อุสสทนรก และมหานรก ไปเป็นมนุษย์ เทวดา เป็นเปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน ตามกรรมที่ปรากฏเป็นภาพหน้าบัลลังก์ของพระยายมราช    ช่วงนี้ถ้าญาติอุทิศบุญให้ก็ยังรับบุญได้  
                                       
          นี้เป็นหลักการส่วนใหญ่ มิใช่ทั้งหมด เพราะฉะนั้นญาติมิตรผู้ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์จึงควรศึกษาวิธีอุทิศส่วนกุศลให้ถูกวิธี และรีบทำบุญทุกบุญอย่างเต็มกำลังและอุทิศส่วนกุศลให้ในวันดังกล่าว


[1]  สํ.สฬา. ภูมกสูตร 29/189
[2]  องฺ.ปญฺจก.อาทิยสูตร 36/94  / ขุ.สุต.อ.มงคลสูตร 47166
[3]  ขุ.ขุ. ติโรกุฑฑสูตร 39/276
[4]  องฺ.ทสก. ชาณุสโสณีสูตร ๑๑ 38/435-40
[5]  ขุ.เปตวัตถุ อ.จูฬเสฏฐีเปรต 49/223 
[6]  ขุ.ขุ. ติโรกุฑฑสูตร    39/276
[7]  ขุ.ขุ.อ. ติโรกุฑฑสูตร 39/291
[8]  ขุ.เปต.อ. นันทกเปตวัตถุที่ ๓  49/516
[9]  ขุ.ขุ.อ. ติโรกุฑฑสูตร  39/299
[10]  ขุ.เป. จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ  49/222
[11]  อํ.ติก.อ.ปฐมราชสูตร 34/163
[12]  ม.อุ. เทวทูตสูตร  23/190
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญให้คนตาย ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว
 
 

     
Tag : เปรต  เทวดา  อุสสท  อุบาสิกา  อสุรกาย  สวรรค์  ศีลธรรม  ยมโลก  มหานรก  พระพุทธศาสนา  ผลบุญ  ปัญญา  บุญ  นรก  ธรรมะ  ทุกข์  ตายแล้วไปไหน  

พิมพ์บทความนี้


<< ก่อนหน้า
ทำอย่างไรจึงจะมีอายุยืน เหตุแห่งการมีอายุยืน

   

Bookmark and Share   





   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

พระศรีอริยเมตไตรย์
พระศรีอริยเมตไตรย์

พุทธประวัติ
ภาพพุทธประวัติ


ธรรมะเพื่อประชาชน

ดอกไม้บาน

ทอดผ้าป่าเขาแก้วเสด็จทุกวันเสาร์

Peace Photo
ภาพแห่งการสร้างบารมีเพื่อสันติภาพโลก

Meditation and Peace

อยู่ในบุญ

ปฏิทินบุญ

Free Wallpaper Download

Free Ecards

ตักบาตรพระ 1 ล้านรูป