ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไรมนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือ ตอนที่ 2ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ต่างดาวตามหลักพระพุทธศาสนาจากตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงมนุษย์ต่างดาวในทัศนคติความเข้าใจต่างๆ นาๆ ของมนุษย์ทั่วไป และมนุษย์ต่างดาวตามหลักพระพุทธศาสนา ทำให้ทราบว่าไม่ได้มีโลกใบนี้เพียงใบเดียวที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ในตอนที่ 2 นี้จึงจะขอกล่าวถึงมนุษย์ต่างดาวในทวีปที่เหลือจากตอนที่แล้วดังบทความตอนล่างนี้รับชมตอนที่ผ่านมาได้ที่ มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือ รวมคลิปภาพมนุษย์ต่างดาว2. ปุพพวิเทหทวีปปุพพวิเทหทวีป มีพื้นที่ขนาด 7,000 โยชน์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ ซึ่งเป็นรัตนชาติสีเงินส่องรัศมีฉาบส่องมหาสมุทรทางทิศนี้จนเป็นสีเงิน มีต้นซึก (สีรีสกะ) เป็นไม้ประจำทวีปนี้มีขนาดเท่ากับต้นกัลปพฤกษ์ของชาวอุตตรกุรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าตอนบนตัดโค้งมนลง ส่วนล่างคล้ายบาตร ร่างกายใหญ่สูงประมาณ 9 ศอก เด็กแรกคลอดโตขนาดเท่าเด็ก 5 เดือนมนุษย์ต่างดาวตามหลักพระพุทธศาสนาที่อยู่ในทวีปอื่นที่ไม่ใช่ชมพูทวีปมนุษย์ทวีปนี้ มีสีผิวหลากสี คือ ขาว ดำ สีผสม สีทอง สีด่าง มีอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับคล้ายชาวชมพูทวีป ไม่มีการซื้อขาย รักษาศีลได้ดีกว่า แต่ไม่มีการบรรพชาอุปสมบท ประพฤติพรหมจรรย์ อายุของทวีปนี้ยืน 700 ปี3. อปรโคยานทวีป หรือ อมรโคยานทวีปอมรโคยานทวีพื้นที่ขนาด 7,000 โยชน์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุอันสำเร็จด้วยแก้วผลึก รัศมีแก้วผลึกนั้นจะเปล่งออกฉาบทาหลังมหาสมุทรด้านทิศนี้ ทวีปนี้มีต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม) เป็นไม้ประจำทวีปนี้ซึ่งมีขนาดเท่ากับต้นไม้ทวีปอื่น มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ากลม คล้ายวงพระจันทร์ มีร่างกายสูงประมาณ 6 ศอก เด็กแรกคลอดมีขนาดเท่าเด็กอายุ 4 เดือน สีผิวมีหลากสีเช่นเดียวกับ ชาวปุพพวิเทหะ มีอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับคล้ายชาวชมพูทวีป แต่ไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ การบรรพชาอุปสมบท อายุมนุษย์ในทวีปนี้ยืน 500 ปีลักษณะของมนุษย์ต่างดาวที่มีใบหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ ในหลักพระพุทธศาสนาความพิสดารของปุพพวิเทหทวีปและอปรโคยานทวีปท่านมิได้กล่าวไว้เลย สงสัยว่าจะมีความคล้ายคลึงกันกับของอุตตรกุรุทวีปกระมัง ท่านจึงมิได้กล่าวไว้ให้ละเอียดเหมือนอุตตรกุรุทวีป4. ชมพูทวีปชมพูทวีป มีพื้นที่ขนาด 10,000 โยชน์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุซึ่งสำเร็จด้วยแก้วมณี รัศมีแก้วมณีนั้นจะเปล่งออกฉาบทาหลังมหาสมุทรด้านทิศนี้ ต้นชมพูหรือไม้หว้าชื่อ นคะ เป็นไม้ประจำชมพูทวีปมีขนาดเท่ากับต้นไม้ประจำทวีปอื่นที่กล่าวมาแล้ว ใต้กิ่งหว้าทั้ง 4 นั้น เป็นแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านไปในทิศทั้งหลาย ผลหว้ามีกลิ่นหอม รสหวานปานน้ำผึ้ง หมู่นกทั้งหลายชวนกันมากินผลหว้าสุกนั้น บางทีผลสุกก็หล่นลงตามฝั่งแม่น้ำ แล้วงอกออกเป็นเนื้อทอง และถูกน้ำพัดออกไปจมลงในมหาสมุทร เรียกทองนั้นว่า ทองชมพูนุท เพราะอาศัยเกิดมาจากชมพูนที (แม่น้ำชมพู)มนุษย์ชาวชมพูทวีป เป็นผู้กล้าหาญในการทำความดีและในการทำความชั่วได้ถึงที่สุดมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปไข่ กำหนดอายุขัยไม่แน่นอน โดยความยิ่งหย่อนในคุณธรรม สมัยใดเพียบพร้อมยิ่งด้วยคุณธรรม สมัยนั้นก็จะมีอายุน้อยถอยลงมาจนถึง 10 ปี แล้วจึงเริ่มขัยใหม่อีกครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคุณสมบัติของมนุษย์ชาวชมพูทวีปไว้ 3 ประการ คือ1.เป็นผู้กล้า2.เป็นผู้มีสติ3.เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยมคุณสมบัติข้อที่ 1 เป็นข้อสำคัญในการที่จะทำให้อายุขัยของชาวชมพูทวีป ขึ้นลงไม่แน่นอน เพราะมนุษย์ชาวชมพูทวีป เป็นผู้กล้าหาญในการทำความดีและในการทำความชั่วได้ถึงที่สุด คือ ถ้าทำความดีทำกุศลไว้มาก กุศลเจริญ อายุขัยก็จะเจริญขึ้น ถ้าทำความชั่วอกุศลเจริญ อายุขัยก็จะลดลง และในการทำความดีนั้นก็สามารถทำดีได้สูงสุดจนสิ้นกิเลส ไปสู่ที่สุดโลกเบื้อบนคือพระนิพพาน เสวยบรมสุขสิ้นกาลนาน ถ้าทำความชั่วมากจนภพสามรองรับไม่ได้ ก็ไปที่สุดโลกเบื้อต่ำจากภพสามที่เรียกว่า โลกันต์ เสวยทุกข์ยาวนานไม่มีกำหนดคุณสมบัติข้อที่ 2 เป็นผู้มีสติมั่นคง เพราะชมพูทวีปมีทั้งดีและชั่ว มีทั้งสุขและทุกข์ปนกันไป ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ไม่เหมือนชาวทวีปอื่นหรือพวกเทวดาซึ่งมีสุขมากมีกามคุณอันเลิศโดยส่วนเดียวทำให้ขาดสติได้บ่อยๆ ส่วนมากสัตว์นรกก็มีแต่ทุกข์โดยส่วนเดียวคุณสมบัติข้อที่ 3 เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม หมายความว่าการอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์แปด (มรรคมีองค์ 8) ย่อมมีในที่นี้เท่านั้น เพราะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในชมพูทวีป ทำให้สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้ถึงที่สุดได้โลกมนุษย์ที่เราอยู่ปัจจุบันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป สมัยพุทธกาลท่านกำหนดเอาเพียงเขตอินเดียโบราณ แต่มนุษย์ชมพูทวีปที่เหลือที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ว่ามีทวีปเล็กอีก 500 ทวีป ซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าอยู่ที่ใด ต้นไม้ประจำทวีปคือ ต้นหว้าชื่อ นคะ อยู่ที่ใด ปัจจุบันยังอยู่หรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่งด้วยการเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา มนุษย์เราปัจุบันเจริญด้วยวัตถุหยาบ ไม่เจริญทางด้านจิตใจ จะพิสูน์อะไรก็มักจะพิสูจน์กันด้วยวัตถุหยาบๆ ที่ตามองเป็นได้ ถ้าตามองเห็นไม่ได้ก็ปฏิเสธว่าไม่มี ใช้ตากับสมองหยาบหาความรู้เท่านั้น จนลืมไปว่า ช่องทางสำหรับรับรู้อีกตั้ง 5 ทางยังมีอยู่อีก โดยเฉพาะทางใจ ซึ่งอยู่ในตน ตนเองใช้ตลอดเวลาเพียงแต่หากได้รับการฝึกฝนด้วยการเจริญสมาธิภาวนาแล้ว ก็จะเป็นเครื่องมือหาความรู้ได้ไม่จำกัดลักษณะของมนุษย์ใน 3 ทวีปข้างต้นเมื่อกล่าวโดยรวมแล้วมนุษย์ใน 3 ทวีปข้างต้น เฉพาะแต่ละทวีป มีรูปร่าง สัณฐาน หน้าตา อยู่ในลักษณะเดียวกัน ต่างกันที่ขนาด ความได้สัดส่วน และความประณีตสวยงาม ความสวยงามของผู้คนใน 3 ทวีป (ยกเว้นชมพูทวีป) มีความสวยงามไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมนุษย์โดยทั่วไป มีคุณธรรมในจิตใจเสมอเหมือนกัน เฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้นที่ผู้คนมีความสวยงามมากน้อยต่างกัน ตามแต่กุศลกรรมที่ตัวเองได้ทำไว้ในอดีตอายุมนุษย์ ทวีปทั้ง 4 ในช่วงแรกที่โลกมนุษย์เจริญ หรือในช่วงที่มีมนุษย์ต้นกัปนั้น ไม่ว่ามนุษย์ในทวีปใด ก็มีอายุถึงอสงไขยปีทั้งสิ้น เพราะจิตใจของคนในสมัยนั้นมีกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ เบาบาง ทำให้สิ่งแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ และอาหารของมนุษย์สมบูรณ์ จึงเป็นเหตุให้อายุมนุษย์ยืนยาวครั้นต่อมามนุษย์ในทวีปทั้ง 4 มีอกุศลจิตเกิดขึ้น ทำให้สิ่งแวดล้อมต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม กล่าวคือ เมื่อหนาวก็หนาวเกิน เมื่อร้อนก็ร้อนเกิน ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล คุณค่าทางอาหารก็ลดน้อยลง สิ่งเหล่านี้ทำให้อายุของมนุษย์ลดลงตามลำดับ เมื่ออายุขัยลดลงถึง 1,000 ปี มนุษย์ที่อยู่ในอุตตรกุรุทวีปก็คงที่เพียงนั้น ไม่ลดลงอีก เพราะไม่มีกิเลสเพิ่มขึ้นอีก ในทำนองเดียวกัน อายุขัยของมนุษย์ที่อยู่ในปุพพวิเทหทวีปคงที่อยู่ที่ 700 ปี ที่อปรโคยานทวีป อายุขัยของมนุษย์คงที่อยู่ที่ 500 ปี คงไว้แต่ชมพูทวีปเท่านั้น ที่อายุขัยของมนุษย์ยังคงลดลงเรื่อยๆ เพราะมีกิเลสกล้าไม่สิ้นสุด และจะลดลงจนกระทั่งเหลือ 10 ปี อาหารทั้งหวงที่รสดีจะหมดไป สิ่งแวดล้อมจะเสื่อมโทรม อันตรกัปใดคนในชมพูทวีปมีโลภะกล้าแข็ง ก็จะตายด้วยความอดอยาก เพราะไม่มีอาหารจะกิน เรียกว่า ทุพภิกขันตรกัปอันตรกัปใดผู้คนมีโทสะกล้าแข็ง ผู้คนก็จะเห็นกันคล้ายเห็นพวกสัตว์ที่เป็นอาหารเหมือนนายพรานเห็นเนื้อ ก็จะหยิบจับสิ่งใดจะกลายเป็นศาสตราอาวุธทันที ฆ่าฟันกันเองจนเกิดการนองเลือดตลอด 7 วัน ยุคนี้เรียกว่า สัตถันตรกัป เพราะคนตายด้วยศาสตราอาวุธ หรือยุคมิคสัญญี เพราะมีความสำคัญกันว่าเป็นสัตว์ในยุคมิคสัญญี จะมีมนุษย์ที่มีจิตใจดีงามกลุ่มหนึ่งที่หนีเข้าป่าไปอันตรกัปใดผู้คนมีโมหะกล้าแข็ง ก็จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บรุนแรง มนุษย์ก็จะตายด้วยโรคยุคนี้เรียกว่า โรคันตรกัป เพราะตายด้วยโรคระบาดในกาลนั้นจะมีมนุษย์บางกลุ่ม หลบหนีซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาห่างไกล เกิดความสลดใจ จึงเริ่มประกอบกุศลอีกครั้ง ซึ่งมีผลทำให้อายุขัยของมนุษย์เพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงอสงไขยปี อายุขัยของคนในชมพูทวีปจะขึ้นลงอยู่อย่างนี้ตามอำนาจกิเลสที่แรงกล้าหรือเบาบางของมนุษย์ในแต่ละยุค เรื่องนี้มีหลักฐานปรากฏอยู่ในจักกวัตติสูตร นักศึกษาควรหาโอกาสศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทวีปทั้ง 3 ยกเว้นชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะ ทำให้อาหารการกิน และน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียนเหมือนอย่างในชมพูทวีป ที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ใน 3 ทวีป มีศีลธรรมที่เป็นปกติ สม่ำเสมอ ส่วนมนุษย์ในชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก บางคนสุขสบาย บางคนลำบาก บางคนปานกลาง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคน แต่ละยุคในชมพูทวีปอาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ในชมพูทวีป มีความแตกต่างกันมากที่สุดก็ว่าได้ในตอนต่อไปนี้ จะกล่าวถึงเรื่องของชมพูทวีปเป็นประเด็นสำคัญ เพราะเป็นโลกที่เราได้อยู่อาศัย และเป็นโลกแห่งความแตกต่างที่น่าศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เราศึกษาเรื่องโลกนี้เพื่อเราจะได้ดำรงชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ได้อย่างมีความสุข และปลอดภัยจากอบายภูมิรับชมวิดีโอรายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ต่างดาว มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือไม่
มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือ ตอนที่ 2
มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือ ภาพมนุษย์ต่างดาวต่างๆ ภาพมุนษย์ต่างดาวมากมาย คุณจะได้ข้อมูลที่ไม่เหมือนใคร แปลกใหม่ที่นี่ที่เดียว !!
บทความ Articles > ตายแล้วไปไหน Life After Death > มนุสสภูมิ[ 19 ส.ค. 2554 ] - [ : 18265 ]
|
Share Facebook |
Tag : | โรคภัยไข้เจ็บ โรคภัย โรค เทวดา สมาธิ สมอง ศีลธรรม วิดีโอ พระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา บารมี นรก ธรรมะเพื่อประชาชน ธรรมะ ทุกข์ ตายแล้วไปไหน ตะวัน dhamma |
<< ก่อนหน้า | มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือ รวมคลิปภาพมนุษย์ต่างดาว | มนุษย์ในชมพูทวีป โลกแห่งความแตกต่าง | ถัดไป >> |
|