สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

จากการศึกษาชาดกในพระไตรปิฎกทำให้เราทราบว่า แต่เดิมนั้นภพมนุษย์ติดต่อกับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่เชิงป่าหิมพานต์อันเป็นอุทยานของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่มีเหล่าเทพบุตรเทพธิดามากมายหลายจำพวกอาศัยอยู่

บทความ Articles > ตายแล้วไปไหน Life After Death > สวรรค์
[ 29 พ.ค. 2554 ] - [ : 18272 ]
   Bookmark and Share  
Share Facebook   
ตายแล้วไปไหน
ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร
 
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
 
     จาตุมหาราชิกา เป็นสวรรค์ชั้นที่ 1 จัดอยู่ในกามภพ เป็นปรโลกฝ่ายสุคติภูมิ ในบรรดาสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นนั้น สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนมีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์
 
ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นที่1 หรือ จาตุมหาราชิกา
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีความหลากหลาย
อยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์และบางส่วนก็ซ้อนอยู่กับภูมิของมนุย์อีกด้วย
 
      จากการศึกษาชาดกในพระไตรปิฎกทำให้เราทราบว่า แต่เดิมนั้นภพมนุษย์ติดต่อกับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่เชิงป่าหิมพานต์อันเป็นอุทยานของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่มีเหล่าเทพบุตรเทพธิดามากมายหลายจำพวกอาศัยอยู่ ครั้นต่อมามนุษย์มีกิเลสหนาขึ้น ทำให้สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกากับโลกมนุษย์แยกออกจากกัน จากการศึกษาความรู้พื้นฐานเบื้องต้นทำให้เราทราบว่า บุคคลที่จะไปเกิดบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา นั้น จะเป็นประเภทที่ทำบุญบ้าง ทำบาปด้วย แต่ก่อนตายระลึกถึงบุญที่ทำได้ คนประเภทนี้มีอยู่มากมายในเมืองมนุษย์ จึงทำให้มาเกิดในสวรรค์ชั้นนี้เป็นจำนวนมากมายมีหลากหลายประเภท
 
     จาตุมหาราช แปลว่า เทวดา 4 องค์ผู้เป็นใหญ่ จาตุมหาราชิกาภูมิ หมายถึง เทวดาทั้งหลาย ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติรับใช้ท้าวมหาราชทั้ง 4 เพราะเหตุว่ามากำเนิดในสถานที่ที่ท้าวมหาราชทั้ง 4 ปกครองอยู่ หรือสถานที่อันเป็นที่อยู่ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้ง 4 เป็นผู้ปกครอง
 
ที่ตั้งและลักษณะของสวรรค์ ชั้นจาตุมหาราชิกา
 
     สวรรค์ชั้นนี้ตั้งอยู่ที่เขาสิเนรุ อยู่ใกล้โลกมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และเป็นเหมือนเมืองประเทศราช ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวมหาราช ทั้ง 4 นี้ ปกครองตั้งแต่บนสวรรค์ลงไปจนถึงพื้นมนุษย์ ท้าวมหาราชทั้ง 4 ยังเป็นผู้รักษามนุษย์โลกด้วย ฉะนั้นจึงเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล
  
ท้าวมหาราชทั้ง 4 ซึ่งเป็นผู้รักษามนุษย์โลก
ท้าวมหาราชทั้ง 4 นี้ปกครองตั้งแต่บนสวรรค์ลงไปจนถึงพื้นมนุษย์
 
     สวรรค์ชั้นนี้มีเมืองใหญ่ 4 แห่ง เป็นเทพนครของท้าวมหาราชทั้ง 4 ที่มีความรื่นรมย์มากมาย ทุกแห่งมีกำแพงทองงามอร่าม ประดับด้วยแก้ว 7 ประการ บานประตูกำแพงทำด้วยแก้วมณี มีปราสาทที่รุ่งเรืองสวยงาม อยู่เหนือประตูทุกประตู ภายในเทพนครที่กว้างใหญ่ไพศาลนั้น มีปราสาทแก้วมากมาย ซึ่งเป็นวิมานอันเป็นที่อยู่ของชาวสวรรค์ แผ่นพื้นที่รองรับก็ไม่เหมือนแผ่นดินในเมืองมนุษย์ เป็นพื้นทองก็มี พื้นเงินก็มี ราบเรียบและอ่อนนุ่มยิ่งนัก เมื่อเหล่าเทวดาเหยียบลงไป ก็ไม่ปรากฏรอยเท้า นอกจากนี้ยังมีสระโบกขรณีมีน้ำใสยิ่งกว่าแก้ว เต็มไปด้วยดอกบัวนานาชนิดส่งกลิ่นหอมตลบอบอวล มีต้นไม้สวรรค์อันวิจิตรตระการตา มีดอกไม้ทิพย์ที่สวยสดงดงามน่าดูน่าชม ที่กล่าวมานี้ เป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นสูงผู้มีบุญญาธิการมาก
 
     ส่วนเทวดาชั้นกลางจะอยู่ที่ป่าหิมพานต์เชิงเขาสิเนรุ ป่าหิมพานต์เป็นเหมือนอุทยานแห่งชาติของสวรรค์ มีต้นไม้ ดอกไม้ที่นี่สวยสดงดงาม ใบไม้เวลาตกลงมาถึงพื้นก็แวบหายไป ไม่ทับถมกันเป็นปุ๋ยเหมือนต้นไม้ในเมืองมนุษย์ ดอกไม้มีกลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจ พอร่วงหล่นลงมา ก็ออกดอกใหม่ ฤดูกาลของที่นี่จะเป็นฤดูสบาย คือ เย็นสบายๆ ไม่หนาว ไม่ร้อน ปีหนึ่งๆ ต้นไม้จะออกดอก 1 เดือนบ้าง 2 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ในป่าหิมพานต์นี้มียอดเขา 84,000 ยอด มีแม่น้ำใหญ่ 5 สาย คือ คงคา ยมุนา สรภู อจิรวดี มหิมา มีสระใหญ่ 7 สระ คือ อโนดาต กัณณมุณฑะ รถกาละ ฉัททันตะ มัณฑากินี สีหปปาตะ กุณาละ เฉพาะที่สระอโนดาตมีภูเขา 5 ลูกล้อมรอบ คือ เขาสุทัสสนะ เขาจิตรกูฏ เขากาฬกูฏ เขาไกรลาส เขาคันธมาทน์ ที่เขาคันธมาทน์นี้ มีเงื้อมเขาหนึ่งชื่อ นันทมูลกะ เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า มีถ้ำอยู่ 3 แห่ง คือ ถ้ำทอง ถ้ำแก้ว ถ้ำเงิน
 
 
นาคในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
นาค บนสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาจัดเป็นเทวดาชั้นกลาง
 
     ในป่าหิมพานต์เป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นกลาง เช่น ครุฑ ยักษ์ นาค คนธรรพ์ วิทยาธร และมีสัตว์อัศจรรย์หลายชนิด ซึ่งสัตว์ที่อยู่ตรงนี้สวยมาก เหมือนเป็นต้นตระกูลของสัตว์ ทั้งหลาย มีสัตว์รูปร่างพิสดารมากมาย เช่น กินนร กินนรี ติณณราชสีห์ กาฬราชสีห์ ปัณฑุราชสีห์ ไกรสรราชสีห์ คชสีห์ และมีต้นมักกะลีผล ซึ่งมีผลเป็นนารี เป็นที่หมายปองของเหล่าเทวดาหลายพวก เช่น วิทยาธร คนธรรพ์ ในป่าหิมพานต์ทั้งหลาย เป็นต้น 
 
     ต้นนารีผล หรือ มักกะลีผล นี้ จะขึ้นอยู่ท่ามกลางต้นไม้ต่างๆ จะขึ้นประปรายทั่วๆ ไป ไม่ได้ขึ้นเป็นหมู่ อยู่ในป่าหิมพานต์ รอบๆ เขาพระสุเมรุ ลำต้นนารีผลเป็นสีน้ำตาลทอง สวยงามเป็นเงาระยิบระยับ ใบเป็นสีทองแพรวพราวสวยงาม ซึ่งถ้าอยู่ในภพนี้จะมีรัศมีเรืองรอง เมื่อใบตกถึงพื้นก็แวบหายไป ไม่ต้องรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย และไม่ต้องตกแต่ง เมื่อถึงฤดูกาลนารีผลจะห้อยเต็มไปหมด ถ้าไม่ใช่ฤดูกาลจะเห็นแต่ใบ เมื่อถึงเวลาอันสมควรจึงจะออกดอกออกผล นารีผลปีหนึ่งออกดอกครั้งเดียว ครั้งละ 3 เดือน ตั้งแต่ตูมจนกระทั่งบาน 1 เดือน จากบานเป็นนารีผลอีก 1 เดือน ส่วนอีก 1 เดือน นารีผลช่วงสุกงอมหลุดจากขั้ว จึงจะนำไปใช้สอยได้ ซึ่งแต่ละผลก็หลุดไม่พร้อมกัน แต่มีช่วงระยะหลุดจากต้น 1 เดือน เมื่อหล่นลงมาแล้วอยู่ได้แค่ 7 วันสวรรค์ เท่ากับ 350 ปีในเมืองมนุษย์ เหล่าคนธรรพ์ วิทยาธร จะมาคอยแย่งชิงนารีผลในช่วงที่นารีผลสุกงอม
 
สัตว์อัศจรรย์ที่อยู่ในป่าหิมพานต์
 
ป่าหิมพานต์ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่มีต้นมักกะลีผล
ลักษณะทั่วไปของป่าหิมพานต์ที่มีสัตว์อัศจรรย์อาศัยอยู่อย่างมากมาย
 
     คชสีห์ ที่มีหัวเป็นช้าง ตัวเป็นราชสีห์ ราชสีห์กับช้างผสมผสานกลมกลืนกันอย่างดี บางคนบอกว่า คนละสายพันธุ์กันจะผสมกันได้อย่างไร ก็เหมือนคนไทยแต่งงานกับคนต่างชาติ ลูกออกมาก็ผสมผสานกันไป คชสีห์เราได้ยินกันบ่อยๆ ถ้าเราอ่านในวรรณคดีจะคุ้น เขาเรียกว่า สัตว์ในเทพนิยาย บางคนไม่เชื่อว่ามีจริง แต่มันมีจริงๆ ดูแล้วจะเป็นสัตว์ประหลาด แต่ว่าเป็นสัตว์ที่สง่างามมาก
 
      นาคราชสีห์ มีหัวเป็นพญานาค แต่ตัวเป็นราชสีห์ มีหางเป็นนาค มีเกล็ดเป็นนาค สวยสง่างาม องอาจ เกิดจากพญานาคกับราชสีห์ผสมกัน
 
     ไกรสรราชสีห์ เป็นเจ้าป่าหิมพานต์ ตัวมีขนสีขาว ปลายๆ ขนมีสีแดงๆ ถ้าดูข้างหน้าผมจะมีสีแดง ขนจะขดวน ขดใหญ่ๆ วนตามเข็มนาฬิกา วนเป็นเกลียวขึ้นไปบนหลัง และผมของมันจะไม่ยุ่งเหยิงเหมือนสิงโตเมืองมนุษย์ สวยสง่างามมาก สามารถจับช้างกินได้
 
     ที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นสูงและชั้นกลาง ส่วนเทวดาที่ต่ำกว่านั้นลงมา ก็จะมีความหลากหลายมากมาย บ้างก็อยู่รวมกันเป็นเผ่าพันธุ์ของตัว เช่น ครุฑ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์ เป็นต้น ความเป็นอยู่ของบางกลุ่มก็จะใกล้เคียงมนุษย์ เช่น มีวิมานคล้ายบ้านในมนุษย์ เพราะมีบุญน้อย เป็นต้น
 
     นอกจากนี้ยังมีเทวดาชั้นต่ำที่ถือว่าเป็นชาวสวรรค์ชั้นนี้อีกด้วย ที่มีวิมานอยู่บนพื้นดินที่มนุษย์อยู่ เรียกชื่อตามที่อยู่อาศัยรวมเป็นพวกใหญ่ ดังนี้
 
     ภุมมเทวา เป็นเทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นมนุษย์ อยู่ตามจอมปลวก เนินดิน ใต้ดิน ภูเขา แม่น้ำ บ้าน เจดีย์ ศาลา ซุ้มประตู เป็นต้น บางองค์มีวิมานเป็นของตน บางองค์ก็ไม่มี ต้องอาศัยวิมานองค์อื่นอยู่
 
     รุกขเทวา เป็นเทวดาที่อาศัยอยู่ตามกิ่งไม้หรือยอดไม้ต่างๆ ซึ่งสูงขึ้นไปกว่าพวกภุมมเทวา มีทั้งที่มีวิมานและไม่มีวิมานเป็นของตน
 
     อากาสเทวา เป็นเทวดาที่มีวิมานอยู่กลางอากาศ สูงขึ้นไปจากพื้นดินประมาณ 1 โยชน์
 
อากาศเทวาอยู่ไม่ไกลนักจากภูมิมนุษย์
ลักษณะความเป็นอยู่ของอากาศเทวา
 
      เทวดาเหล่านี้อยู่ในปกครองของท้าวจาตุมหาราชิกา ซึ่งที่อยู่อาศัยของเทวดาเหล่านี้ จะอยู่ซ้อนกับภูมิของมนุษย์ ทำให้บางคราวมนุษย์สามารถมองเห็นพวกภุมมเทวา รุกขเทวา และอากาสเทวา ได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งก็จะมีทุกเผ่าพันธุ์ ที่เราเรียกกายละเอียด หรือวิญญาณที่อยู่ปนกับภูมิมนุษย์เหล่านี้ว่า ผี
 
     คำว่า ผี มีความหมายกว้างมาก หมายถึง กายละเอียดที่เรามองไม่เห็น ที่อยู่รวมกับมนุษย์แต่สภาพที่ละเอียดกว่า เช่น สัมภเวสี (ผีเร่ร่อน) ภุมมเทวา สายยักษ์ สายวิทยาธร สายคนธรรพ์ เป็นต้น อย่างผีปอบที่เราเคยได้ยินเรื่องราวที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเป็นภุมมเทวาสายยักษ์ ที่อยู่ในการปกครองของท้าวเวสสุวรรณ ที่เข้าสิงร่างมนุษย์เพื่ออาศัยกินอาหาร แต่ไม่สามารถจะเข้าสิงได้ทุกคน จะเข้าสิงได้เฉพาะคนที่เคยสร้างกรรมประเภท ฆ่าสัตว์ไหว้เจ้ามาในอดีต
 
     หากเราได้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของกายละเอียดเหล่านี้ ก็จะทำให้เราเข้าใจชีวิตของเขามากขึ้น ความกลัวของเราก็จะลดน้อยลง จนไม่มีความกลัวหลงเหลืออยู่เลย เพราะเขาเหล่านี้ก็คือ อดีตมนุษย์ที่สั่งสมบุญมาน้อยนั่นเอง เขาเหล่านั้นกลับจะกลัวผู้มีบุญมากกว่า
 
อายุขัยของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
 
อายุของชาวสวรรค์ชั้นนี้ มีปรากฏใน วิตถตสูตร1 ว่า
 
     “ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย 50 ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง ของเทวดาชั้นจาตุมหาราช 30 ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง 12 เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง 500 ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช”
 
     จากพระสูตรจะเห็นว่า อายุมาตรฐานของชาวสวรรค์ชั้นนี้จะอยู่ที่ประมาณ 500 ปีทิพย์ แต่ก็ไม่แน่ว่าเทวาเหล่านั้นจะอยู่ได้ถึงหรือไม่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกำลังบุญของเทวดานั้น เหมือนเมืองมนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ย 100 ปี บางคนก็น้อยกว่า บางคนก็มากกว่า ถ้านับเป็นอายุมนุษย์ก็เท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์
 
1 วิตถตสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 132 หน้า 504.
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
 
 
 
 


พิมพ์บทความนี้


<< ก่อนหน้า
อนาถใจตายไปเป็น เปรตกอบแกลบ เปรตเล็บเป็นหอกเป็นดาบ ความรัก ความเป็นอยู่ของเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
ถัดไป >>

   

Bookmark and Share   





   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

พระศรีอริยเมตไตรย์
พระศรีอริยเมตไตรย์

พุทธประวัติ
ภาพพุทธประวัติ


ธรรมะเพื่อประชาชน

ดอกไม้บาน

ทอดผ้าป่าเขาแก้วเสด็จทุกวันเสาร์

Peace Photo
ภาพแห่งการสร้างบารมีเพื่อสันติภาพโลก

Meditation and Peace

อยู่ในบุญ

ปฏิทินบุญ

Free Wallpaper Download

Free Ecards

ตักบาตรพระ 1 ล้านรูป