โลกมนุษย์ที่สุดของความแตกต่าง

มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล แม้เราจะมีอวัยวะที่เป็นคนเหมือนกัน แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน ความแตกต่างเหล่านี้ หากให้เราคิดหาคำตอบด้วยตนเอง ก็คงจะกะโหลกบานสติเฟื่องเป็นแน่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้คำตอบเหล่านี้ไว้แล้วใน จูฬกัมมวิภังคสูตร

บทความ Articles > ตายแล้วไปไหน Life After Death > มนุสสภูมิ
[ 16 พ.ค. 2554 ] - [ : 18261 ]
   Bookmark and Share  
Share Facebook   
ตายแล้วไปไหน
ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร
 
ชมพูทวีปโลกแห่งความแตกต่าง
 
โลกมนุษย์ที่สุดแห่งความแตกต่าง
มนุษย์ในชมพูทวีปสามารถสร้างบุญบารมีได้เต็มที่กว่าทวีปอื่นๆ
 
     หากเราลองพิจารณาถึงหลักความจริงทั่วไป จะพบว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล แม้เราจะมีอวัยวะที่เป็นคนเหมือนกัน แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน เช่น อวัยวะบางคนมีอาการครบ 32 ประการ บางคนขาด บางคนเกิน บางคนมีผิวพรรณสวยงาม ละเอียดอ่อน บางคน ผิวพรรณหยาบกระดำกระด่าง บางคนเกิดในครอบครัวที่ร่ำรวย บางคนเกิดในครอบครัวที่ยากจน ความแตกต่างเหล่านี้ หากให้เราคิดหาคำตอบด้วยตนเอง ก็คงจะกะโหลกบานสติเฟื่องเป็นแน่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้คำตอบเหล่านี้ไว้แล้วใน จูฬกัมมวิภังคสูตร1  ว่า
 
     "ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลว และประณีตได้"
 
     จากพุทธพจน์นี้ คงทราบแล้วว่า การกระทำของเรานั่นเองที่ทำให้เราแตกต่างกันใน หลายๆ ด้าน ซึ่งสามารถสรุปการกระทำที่ทำให้แตกต่างกัน ดังที่มีปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตรเช่นเดียวกัน ดังนี้
    
ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้อายุสั้น
ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้อายุยืน
เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้มีโรคมาก
ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้มีโรคน้อย
มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ผิวพรรณทราม
ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ผิวพรรณผ่องใส
มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้มีอานุภาพน้อย
มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้มีอานุภาพมาก
ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ยากจน อนาถา
บริจาคทาน เป็นเหตุให้มีโภคสมบัติมาก
กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้เกิดในสกุลต่ำ
ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้เกิดในสกุลสูง
ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้มีปัญญาน้อย
อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้มีปัญญามาก
 
ความแตกต่างทั้งหลายขึ้นอยู่กับบุญและกรรม
การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างของเราล้วนมีผลกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล
 
     จะเห็นว่าทุกการกระทำของเราล้วนมีผลแห่งการกระทำทั้งสิ้น และการกระทำนี้เองที่ทำให้ เราแตกต่างกัน หากจะกล่าวว่า ชีวิตลิขิตได้ด้วยการกระทำของตัวเองก็คงจะได้ความหมายที่ชัดเจนในข้อนี้ เช่น ถ้าต้องการอายุยืน ก็ต้องไม่ฆ่าสัตว์ ปรารถนาทรัพย์ก็ต้องบริจาคทาน ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น ดังนั้นนักศึกษาปรารถนาจะเป็นอย่างไร ต้องประกอบเหตุดังที่กล่าวแล้ว ยิ่งประกอบเหตุที่ดีไว้มากเพียงไร เราก็ยิ่งมีความสมบูรณ์และความสุขมากเพียงนั้น เราจะเป็นผู้ที่โดดเด่นในความแตกต่าง และสามารถใช้ผลจากการประกอบเหตุนั้นมาสั่งสมความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น หากเรามีทรัพย์มากก็จะทำทานได้มาก ถ้ามีปัญญามาก จะทำสิ่งใดก็สำเร็จได้ทุกอย่าง เป็นต้น
 
     มนุษย์ในชมพูทวีปแม้จะมีความแตกต่างกันถึงเพียงนี้ แต่ถ้าเทียบคุณสมบัติทั่วไปของมนุษย์ในชมพูทวีปกับมนุษย์ในทวีปอื่นแล้ว มนุษย์ในชมพูทวีปคงเทียบไม่ได้ แต่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่มนุษย์ในชมพูทวีปประเสริฐกว่า และสามารถสร้างความดีได้อย่างเต็มที่มากกว่า คุณลักษณะที่พิเศษ 3 ประการนั้น คือ
 
1. สูรภาวะ คือ มีจิตใจกล้าแข็งในการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
2. สติมันตะ คือ มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย
3. พรหมจริยวาส คือ สามารถประพฤติพรหมจรรย์ คือ อุปสมบทได้
 
หน้าตาของมนุษย์ในชมพูทวีป
มนุษย์ในชมพูทวีปมีรูปร่างหน้าตาทรงรูปไข่
 
     ด้วยคุณสมบัติทั้ง 3 ประการนี้ จึงทำให้มนุษย์ในชมพูทวีปมีความโดดเด่นกว่ามนุษย์ในทวีปอื่น และเพราะความที่เป็นโลกแห่งความแตกต่าง พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายที่จะมาบังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเลือกชมพูทวีปให้เป็นทวีปมงคลที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะมนุษย์ในทวีปอื่นมีความดีที่ทำเป็นปกติ มีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ที่สมบูรณ์พร้อม แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมาบังเกิด และทรงแสดงธรรมอย่างไร คนเหล่านั้นก็ไม่อาจจะทำความเข้าใจได้ เพราะตนสมบูรณ์พร้อมแล้ว เช่น พระพุทธองค์แสดงเรื่องความเสื่อมของสังขาร มนุษย์ในทวีปนั้นก็จะนึกไม่ออก เพราะตนไม่มีความชรา ทุกคนมีวัยที่สวยงาม โรคภัยไข้เจ็บก็ไม่มี เหล่านี้เป็นต้น
 
หน้าตามนุษย์ในทวีปต่างๆ
ลักษณะหน้าตาของมนุษย์ในแต่ละทวีปจะแตกต่างกันออกไป
 
ประเภทของมนุษย์
 
     มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันตามการกระทำของตนในอดีต ดังกล่าวมาแล้ว ลักษณะการกระทำของมนุษย์แต่ละคนนี้เอง ทำให้สามารถแยกประเภทของมนุษย์ได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
 
1. มนุษย์นรก คือ มนุษย์ที่มีนิสัยชั่วช้า บาปหนา โหดร้าย สันดานดิบ ชอบสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นอย่างมาก ประพฤติทุจริตมิจฉาชีพผิดมนุษย์ธรรมดา ฆ่าสัตว์ ฆ่าคน ลักขโมย ปล้นจี้ทรัพย์ของผู้อื่นเป็นปกติ นิยมเป็นอันธพาลข่มเหงรังแกผู้บริสุทธิ์ ประหนึ่งว่าผุดขึ้นมาจากนรกที่มีความโหดร้ายทารุณ มนุษย์พวกนี้ไม่ชอบอยู่ในบ้านอย่างคนทั่วไป แต่กลับชอบอยู่ในคุกตะราง ถูกจองจำ หมดอิสรภาพ ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัส
 
2. มนุษย์เปรต คือ มนุษย์ที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก เที่ยวแสวงหาอาหารผ้านุ่งผ้าห่มเท่านั้น กว่าจะได้ก็ยากลำบาก แม้จะมีความเพียรขยันหาทรัพย์อย่างไร ก็ไม่พอใช้พอกินสักที มีแต่ความอดอยากเข้าครอบงำ มากไปด้วยความทุกข์ เขาว่าตรงไหนดี หากินสะดวกสบาย แต่พอไปถึงที่นั้นกลับไม่เจริญดังที่เขากล่าว คนมักเรียกขานคนประเภทนี้ว่า คนกาลกิณี เหมือนผุดมาจากภูมิเปรตที่มีแต่ความอดอยากแร้นแค้น
 
3. มนุษย์เดียรัจฉาน คือ มนุษย์บางพวกที่มักอาศัยอยู่กับผู้อื่น เหมือนกับแมว ม้า เป็ด ไก่ สุดแล้วแต่เจ้านายจะใช้ให้ทำอะไร ก็อุตสาหะทำการงานที่ลำบากไม่สะดวกสบาย หลังจากทำงานเสร็จแล้ว เจ้านายจะให้อะไรที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ ก็ต้องรับเอาไว้ ถ้าเป็นอาหารก็ไม่มีสิทธิ์เลือก ต้องกินอาหารเหลือเดนบ้าง อาหารหยาบบ้าง ถึงคราวเจ้านายดุด่าว่า ก็ต้องเกิดความสะดุ้งหวาดกลัว หาความสะดวกสบายไม่ได้เลย เพราะเป็นคนมีกรรม มากไปด้วยโมหะ ไม่มีความคิดที่จะเลี้ยงชีพของตนโดยความอิสระ ต้องทุกข์ทนต่อความเป็นทาสอย่างแสนสาหัส คนที่มีลักษณะนี้ เพราะการกระทำในอดีตมีความหลงผิด พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ มีพระคุณล้นหัว แต่มองไม่เห็นพระคุณท่าน ไม่เชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ซ้ำยังเถียงคำไม่ตกฟาก ไม่ให้ความเคารพอีกด้วย
 
4. มนุษย์เทวดา คือ มนุษย์ที่รู้จักสิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดเป็นโทษ รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จัก ว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนชั่ว แล้วละเว้นสิ่งที่เป็นบาปอกุศล ตั้งใจประพฤติตนอยู่ในความดี มีศีล 5 เป็นปกติ มิได้ขาด มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ไม่กล้าทำชั่ว ใช้ชีวิตของตนเองได้อย่างมีสาระ ไม่อยู่ไปวันๆ เป็นมนุษย์ผู้มีใจสูง บำเพ็ญบุญกุศลอยู่เป็นประจำ ทำทั้งทาน ศีล ภาวนา ทั้งทำด้วยตนเองและชักชวน ผู้อื่น มนุษย์ประเภทนี้เป็นประดุจเทพบุตร เทพธิดา ที่จุติลงมายังโลกมนุษย์
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเกี่ยวกับทวีปต่างๆ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้แบ่งบุคคลตามกรรมในอดีตและปัจจุบัน
 
     นอกจากการแบ่งประเภทของมนุษย์ตามลักษณะของการกระทำแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้แบ่งบุคคลตามการกระทำในอดีตที่ส่งผลในปัจจุบัน และกรรมในปัจจุบันที่ส่งผลต่อการไปสู่คติในอนาคต ดังที่มีกล่าวไว้ใน ปุคคลสูตร2 ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
 
ประเภทที่ 1 บุคคลผู้มืดมามืดไป คือ มนุษย์ที่ภพชาติในอดีตได้ทำบาปอกุศลไว้มาก จึงเกิดมาเป็นคนยากจน เป็นคนพิกลพิการไม่สมบูรณ์ ขาดโอกาสในการทำกิจต่างๆ แม้เป็นอย่างนี้ ก็ยังประพฤติผิดศีลผิดธรรม ทำบาปอกุศลทั้งทางกาย วาจา และใจ เมื่อละโลกไปแล้ว ก็ต้องไปเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดียรัจฉาน ชีวิตยิ่งตกต่ำลงไป ไม่รู้ว่าวันใดจะกลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีก
 
ประเภทที่ 2 บุคคลผู้มืดมาสว่างไป คือ มนุษย์ประเภทนี้ แม้จะมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะผลแห่งกรรมชั่วในอดีต แต่ก็คิดได้ สอนตัวเองเป็น แม้ไม่มีโอกาสดีๆ อย่างคนอื่นเขา แต่ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา อาศัยความดี ความเพียร และกัลยาณมิตรแนะนำแนวทางในการทำความดี มีความตั้งใจในการประกอบกุศลกรรมด้วยกาย วาจา ใจ อย่างต่อเนื่อง เมื่อละโลกนี้ไป ก็ได้บังเกิดในสวรรค์
 
ประเภทที่ 3 บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป คือ มนุษย์ผู้เกิดมามีความสมบูรณ์พร้อม เกิดในตระกูลสูง มีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ลำบากในการทำมาหากิน มีโอกาสประกอบกุศลกรรมได้โดยง่าย แต่เป็นบุคคลที่มีความประมาทในชีวิต ใช้โอกาสที่ตนได้มานั้น ประกอบอกุศลกรรม ประพฤติผิดศีล ผิดธรรม เมื่อตายไปก็บังเกิดในอบายภูมิ ไปสู่ดินแดนที่มีแต่ความมืดมน
 
ประเภทที่ 4 บุคคลผู้สว่างมาสว่างไป คือ มนุษย์ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง ไม่ลำบากในการทำมาหากิน มีโอกาสที่จะทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาได้อย่างเต็มที่ อย่างสะดวกสบาย และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต ได้ใช้โอกาสนั้น ประกอบกุศลกรรมอย่างเต็มที่ เมื่อตายไปย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
 
     ในเรื่องนี้เราพอจะจำแนกประเภทของมนุษย์ได้ ตามลักษณะของการกระทำเป็นประการสำคัญ เมื่อได้ทำความเข้าใจอย่างแจ่มชัดแล้ว เราควรย้อนกลับมาดูตัวเราเองว่า เรามีพฤติกรรมเช่นไร จัดอยู่ในคนประเภทไหน จะได้รีบแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวให้ดียิ่งๆ ขึ้น เพื่อความสุขในปัจจุบัน และความสุขในอนาคต
 
1 จูฬกัมมวิภัง, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 581 หน้า 251.
2 ปุคคลสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 394-397 หน้า 502-505.
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับโลกมนุย์ที่สุดของความแตกต่าง
 
 


พิมพ์บทความนี้


<< ก่อนหน้า
เศษกรรมนำให้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ทำไมถึงเกิดมาเป็นมนุษย์
ถัดไป >>

   

Bookmark and Share   





   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

พระศรีอริยเมตไตรย์
พระศรีอริยเมตไตรย์

พุทธประวัติ
ภาพพุทธประวัติ


ธรรมะเพื่อประชาชน

ดอกไม้บาน

ทอดผ้าป่าเขาแก้วเสด็จทุกวันเสาร์

Peace Photo
ภาพแห่งการสร้างบารมีเพื่อสันติภาพโลก

Meditation and Peace

อยู่ในบุญ

ปฏิทินบุญ

Free Wallpaper Download

Free Ecards

ตักบาตรพระ 1 ล้านรูป