โลกมนุษย์ในเชิงพุทธศาสตร์

การกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน 31 ภพภูมินั้น หากเราจะเปรียบเทียบสัตว์ที่อยู่ในภูมิอื่นๆ กับภูมิมนุษย์แล้ว จะพบว่าสัตว์ที่เกิดในภูมิมนุษย์นั้นมีจำนวนน้อยมาก

บทความ Articles > ตายแล้วไปไหน Life After Death > มนุสสภูมิ
[ 14 พ.ค. 2554 ] - [ : 18281 ]
   Bookmark and Share  
Share Facebook   
ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร
มนุสสภูมิ
 
     จากการที่เราได้ศึกษาเรื่องอบายภูมิมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าอบายภูมินั้นเป็นดินแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมานยิ่งนัก นอกจากนี้ยังทำให้เราได้ข้อสรุปที่สำคัญอีกประการหนึ่งว่า การเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เปรตก็ดี อสุรกายก็ดี หรือสัตว์เดียรัจฉานก็ดี ล้วนเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ครั้งยังมีชีวิตอยู่ทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่าภูมิมนุษย์จะต้องมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตใน สังสารวัฏนี้ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ตรัสถึงความสำคัญของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ว่า เป็นความยากอย่างหนึ่งทีเดียว ซึ่งมีปรากฏใน พุทธวรรค1 ว่า
 
“ กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก”
 
ชีวิตหลังความตายในภพภูมิตางๆ ตามกรรมของแต่ละคน
การเวียนว่ายตายเกิดในภพต่างๆ กว่าจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นการยาก
 
 
     การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน 31 ภพภูมินั้น หากเราจะเปรียบเทียบสัตว์ที่อยู่ในภูมิอื่นๆ กับภูมิมนุษย์แล้ว จะพบว่าสัตว์ที่เกิดในภูมิมนุษย์นั้นมีจำนวนน้อยมาก แต่สัตว์ที่ไปบังเกิดในภูมิฝ่ายสุคติ มีสวรรค์ 6 ชั้นบ้าง พรหมบ้าง อรูปพรหมบ้าง มีจำนวนมากกว่า หรือสัตว์ที่ไปเกิดในภูมิฝ่ายทุคติ มีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน จัดว่ามีจำนวนมากที่สุด
 
      หากเราได้พิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว จะพบว่า สุคติภูมิ เป็นภูมิแห่งการเสวยผลแห่งกุศลกรรมที่ตนได้กระทำไว้ ทุคติภูมิ เป็นภูมิแห่งการเสวยผลบาป ส่วนภูมิมนุษย์นั้นเป็นศูนย์กลางแห่งการสร้างบุญและบาป ในบทนี้ เราจะได้ทำความรู้จักกับภูมิที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด คือ มนุสสภูมิ เป็นการอธิบายเรื่องตัวของเราเอง และมวลมนุษยชาติทั้งหลาย เราไม่ได้ศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการศึกษาในเชิงพุทธศาสตร์ ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมองมนุษย์อย่างไร

ความหมายของคำว่า มนุสสภูมิ

     ในลำดับแรก เรามาทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า มนุษย์ กันก่อน มนุษย์ หมายถึง คน หรือ เหล่าคน เขียนตามแบบบาลีได้ว่า มนุสฺส มาจากคำว่า มน (อ่านว่า มะ-นะ) ซึ่งแปลว่า ใจ รวมกับคำว่า อุสฺส ที่แปลว่า สูง เมื่อรวมความหมายแล้ว แปลว่า ผู้มีใจสูง เหตุที่ได้ชื่อว่า มีใจสูง เพราะมีความดีงามอยู่ในจิตใจ กล่าวคือ มีความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้บุญบาป รู้จักมีเมตตากรุณา เป็นต้น และเมื่อนำคำว่า มนุสฺส มารวมกับคำว่า ภูมิ ที่แปลว่า แผ่นดิน ที่อยู่ ก็จะหมายถึง ที่อยู่ของผู้มีใจสูง นอกจากความหมายของคำว่า มนุษย์ ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีที่แสดงไว้อีกหลายนัย ดังนี้
 
1. มนุษย์มีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง
2. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุอันควรและไม่ควร
3. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
4. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล
5. มนุษย์เป็นลูกของเจ้ามนุ
 
     ที่ว่ามนุษย์เป็นลูกของเจ้ามนุนั้น มีความหมายดังนี้คือ ในสมัยต้นกัป ประชาชนได้เลือกพระโพธิสัตว์ ซึ่งขณะนั้นเป็นมนุษย์มีชื่อว่า มนุ ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองประเทศ และถวายพระนามว่า พระเจ้ามหาสัมมตะ พระเจ้ามหาสัมมตะทรงวางระเบียบแบบแผนกฎข้อบังคับอย่างเที่ยงธรรม เพื่อให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตาม ประชาชนต่างก็มิได้ฝ่าฝืนเลย คงกระทำตามนั้นทุกประการ เสมือนหนึ่งว่าบุตรที่ดีทั้งหลายได้ประพฤติตามโอวาทของบิดา เหตุนี้จึงเรียกว่า มนุสฺส หมายถึงว่า เป็นลูกของพระเจ้ามนุ

ที่ตั้งของมนุสสภูมิ

     ที่อยู่ของมนุษย์ หรือมนุสสภูมินั้น อยู่บนพื้นดินลอยอยู่กลางอากาศ ในระดับเดียวกับไหล่เขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่ในทิศทั้ง 4 ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล ผืนแผ่นดินใหญ่ทั้ง 4 ที่ลอยอยู่ในทิศทั้ง 4 เรียกว่า ทวีป มีชื่อและที่ตั้ง ดังนี้
 
มนุษย์ภูมิ
ที่ตั้งของมนุษย์ อยู่บนพื้นดินลอยอยู่กลางอากาศ
 
1. ปุพพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ
2. อปรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ
3. ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ
4. อุตตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ
 
      ชาวโลกส่วนใหญ่ที่ยังไม่เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา มักมีความเข้าใจว่า มนุษย์มีอยู่เฉพาะในโลกที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่หากได้ศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาแล้วจะพบว่า โลกมนุษย์นั้นมีอยู่ถึง 4 ทวีปด้วยกัน แต่เราไม่สามารถไปถึงได้ เพราะอยู่ไกลกันมาก อีกทั้งยังมีความละเอียดประณีตมากกว่าโลกที่เราอยู่นี้ จึงทำให้มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ต้องอาศัยทิพยจักษุ ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เรียกว่า ชมพูทวีป
 
     ลักษณะของมนุษย์ ในทวีปทั้ง 4 เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว มีรูปร่าง สัณฐาน หน้าตา อยู่ในลักษณะเดียวกัน ต่างกันที่ขนาด ความได้สัดส่วน และความประณีตสวยงาม เช่น มนุษย์ในชมพูทวีป มีใบหน้ารูปไข่ อปรโคยานทวีป มีใบหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญ ปุพพวิเทหทวีป มีรูปหน้าเหมือนมะนาวตัด หรือพระจันทร์ครึ่งซีกครึ่งวงกลม ส่วนอุตตรกุรุทวีป มีใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม ความสวยงามของผู้คนใน 3 ทวีป ยกเว้นชมพูทวีป มีความสวยงามไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมนุษย์โดยทั่วไป มีคุณธรรมในจิตใจเสมอเหมือนกัน เฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้นที่ผู้คนมีความสวยงามมากน้อยต่างกัน ตามแต่กุศลกรรมที่ตัวเองได้ทำไว้ในอดีต
 
     อายุมนุษย์ ทวีปทั้ง 4 ในช่วงแรกที่โลกมนุษย์เจริญ หรือในช่วงที่มีมนุษย์ต้นกัป ไม่ว่ามนุษย์ในทวีปใด ก็มีอายุถึงอสงไขยปีทั้งสิ้น เพราะจิตใจของคนในสมัยนั้นมีกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ เบาบาง ทำให้สิ่งแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ และอาหารของมนุษย์สมบูรณ์ จึงเป็นเหตุให้อายุมนุษย์ยืนยาว ครั้นต่อมามนุษย์ในทวีปทั้ง 4 มีอกุศลจิตเกิดขึ้น ทำให้สิ่งแวดล้อมต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม กล่าวคือ เมื่อหนาวก็หนาวเกิน เมื่อร้อนก็ร้อนเกิน ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล คุณค่าทางอาหารก็ลดน้อยลง
 
     สิ่งเหล่านี้ทำให้อายุของมนุษย์ลดลงตามลำดับ เมื่ออายุขัยลดลงถึง 1,000 ปี มนุษย์ที่อยู่ในอุตตรกุรุทวีปก็คงที่เพียงนั้น ไม่ลดลงอีก เพราะไม่มีกิเลสเพิ่มขึ้นอีก ในทำนองเดียวกัน อายุขัยของมนุษย์ที่อยู่ในปุพพวิเทหทวีปคงที่อยู่ที่ 700 ปี ที่อปรโคยานทวีป อายุขัยของมนุษย์คงที่อยู่ที่ 500 ปี
 
     คงไว้แต่ชมพูทวีปเท่านั้น ที่อายุขัยของมนุษย์ยังคงลดลงเรื่อยๆ เพราะมีกิเลสกล้าไม่สิ้นสุด และจะลดลงจนกระทั่งเหลือ 10 ปี อาหารทั้งปวงที่รสดีจะหมดไป สิ่งแวดล้อมจะเสื่อมโทรม ผู้คนมีโทสะกล้าแข็ง ในที่สุดก็เกิดการรบราฆ่าฟันกันเองจนเกิดการนองเลือดตลอด 7 วัน ในกาลนั้นจะมีมนุษย์บางกลุ่ม หลบหนีซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาห่างไกล และเริ่มประกอบกุศลอีกครั้ง ซึ่งมีผลทำให้อายุขัยของมนุษย์เพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งขึ้นไปถึงอายุ 80,000 ปี จนถึงอสงไขยปี อายุขัยของคนในชมพูทวีปจะขึ้นลงอยู่อย่างนี้ตามอำนาจกิเลสที่แรงกล้าหรือเบา บางของมนุษย์ในแต่ละยุค เรื่องนี้มีหลักฐานปรากฏอยู่ใน จักกวัตติสูตร2 ควรหาโอกาสศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
 
     ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทวีปทั้ง 3 ยกเว้นชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะ ทำให้อาหารการกิน และน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียนเหมือน อย่างในชมพูทวีป ที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ใน 3 ทวีป มีศีลธรรมที่เป็นปกติ สม่ำเสมอ ส่วนมนุษย์ในชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก บางคนสุขสบาย บางคนลำบาก บางคนปานกลาง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคน แต่ละยุคในชมพูทวีป อาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ในชมพูทวีป มีความแตกต่างกันมากที่สุดก็ว่าได้ การที่จะช่วยฟื้นฟูศีลธรรมให้บังเกิดขึ้นแก่โลก เพื่อช่วยให้โลกดีขึ้นนั้นมีทางเลือกด้วยกันหลายทาง แต่ทางที่ง่ายและได้บุญเยอะนั้น ได้แก่ การบวชพระสำหรับท่านชายแมนๆ ซึ่งมีโครงการต่างๆ หลายโครงการด้วยกัน เช่น โครงการอุปสมบทหมู่รุ่นเข้าพรรษา โครงการบวชพระนานาชาติ เป็นต้น และสำหรับท่านหญิงก็มีการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน โดยโครงการต่างๆ สามารถอ่านได้จากบทความที่เกี่ยวข้องด้านล่างนี้ 
 
1 พุทธวรรค, ขุททกนืกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 ข้อ 24 หน้า 275.
2 จักกวัตติสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 39-47 หน้า 108-118.
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับโลกมนุษย์ในเชิงพุทธศาสตร์
 
 


พิมพ์บทความนี้


<< ก่อนหน้า
115 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง กำหนดการพิธีบุพเปตพลี
ถัดไป >>

   

Bookmark and Share   





   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

พระศรีอริยเมตไตรย์
พระศรีอริยเมตไตรย์

พุทธประวัติ
ภาพพุทธประวัติ


ธรรมะเพื่อประชาชน

ดอกไม้บาน

ทอดผ้าป่าเขาแก้วเสด็จทุกวันเสาร์

Peace Photo
ภาพแห่งการสร้างบารมีเพื่อสันติภาพโลก

Meditation and Peace

อยู่ในบุญ

ปฏิทินบุญ

Free Wallpaper Download

Free Ecards

ตักบาตรพระ 1 ล้านรูป